เถาวัลย์เปรียง
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่), เครือตับปลา (เลย), เถาตาปลา เครือเขาหนังย่านเหมาะ (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก (หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ (หากเกิดในที่ลุ่ม)
(ภาคอีสาน), เถาวัลย์เปรียงขาวเถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง), ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้) เป็นต้น[1],[4],[5],[6],[11]
ลักษณะของเถาวัลย์เปรียง
·
ต้นเถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่
สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน
กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง
เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้
คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน)
ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด
ทนความแห้งแล้งได้ดี หากปลูกในที่แล้งจะออกดอกดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น
พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป
เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด
ใบเถาวัลย์เปรียง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก
โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม
ท้องใบเรียบ
สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง
1.
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)[1],[2],[4],[5]
2.
รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก)[1],[2],[4] ใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะ
เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง[12]
3.
ตำรับยาไทยใช้รากเป็นยารักษาอาการไข้ (ราก)[4]
4.
ช่วยแก้หวัด แก้ไอ (เถา)[3],[4],[5]
5.
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะพิการ
โดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ
และใช้ได้ดีในเด็ก (เถา)[1],[2],[4],[11]
6.
ช่วยแก้บิด (เถา)[3],[4],[5]
7.
เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกระปริบกะปรอย
ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียนมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (เถา,ราก)[1],[2],[3],[4],[14] และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพรชนิดนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ
จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย[14]
8.
เถาใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดูของสตรี (เถา)[8],[12]
9.
คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี
(อาการตกขาวชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว) (เถา)[14]
10.
เถามีสรรพคุณในการบีบมดลูก (เถา)[8]
11.
ช่วยขับโลหิตเสียของสตรี ด้วยการใช้เถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ
นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ (ทั้งห้า)[6]
12.
ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ ด้วยการใช้เถาสดนำมาทุบให้ยุ่ย
แล้ววางทาบลงบนหน้าท้อง แล้วนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง
จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น (เถา)[6]
13.
บางตำรากล่าวว่าเถามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง
ทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย (เถา)[5]
14.
เถามีรสเฝื่อนเอียดใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเส้น
ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด
ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ
หรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้งคั่วชงน้ำกินต่างน้ำชาเป็นยาทำให้เส้นหย่อน
แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา (เถา)[1],[2],[3],[4],[5],[10]
15.
มีการใช้เถาเพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก
โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ
แล้วใช้เป็นยาทานวดบริเวณที่เป็นทุกวันจนหาย (เถา)[8
รับประทาน : รับประทานครั้งละ 5-30 ซีซี
วันละ 2 ครั้ง
ก่อนอาหารเช้า-เย็น
ดูข้อมูลที่ http://kowtongphoenin.blogspot.com
ปริมาณและราคา 1 ขวด บรรจุ 750 มล.
ราคา 1500 บาท ส่งพัสดุ EMSฟรีทั่วประเทศ
สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ คุณ ชอร์ว
โทร. 089-496-8695 , 089-278-8514
ID Line : pensionfuds
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น